กลยุทธ์สร้างพอร์ตหุ้น
กลยุทธ์สร้างพอร์ตหุ้น
เวลาที่คิดจะลงทุนในตลาดหุ้นผมมักจะจินตนาการเหมือนว่ากำลังส่งกองทัพไปทำสงครามในสนามรบแห่งหนึ่งโดยมีตัวผมเองเป็นเสนาธิการ เรื่องแรกที่ผมจะต้องคิดก็คือ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ต้องการบรรลุนั่นก็คือเรื่องของผลตอบแทนที่จะได้รับถ้าชนะสงคราม—หรือแพ้ โดยทั่วไปกฎของผมก็คือกฎของสงครามนั่นคือ เราต้องไม่แพ้ ถ้าคิดว่ามีโอกาสแพ้พอสมควรผมก็จะไม่เข้า เรื่องที่สองก็คือผมจะต้องประเมิน “สนามรบ” หรือชัยภูมิหรือสถานที่ที่จะเข้าตี ผมจะต้องดูว่ามันอยู่ในทำเลที่ยากมากน้อยแค่ไหน มันเอื้ออำนวยหรือมันเป็นเนินเขาสูงที่มีป้อมปราการทำให้คนที่เข้าไปอยู่ในจุดที่เสียเปรียบและเอาชนะได้ยากหรือไม่ เพราะผมเชื่อในกฎของสงครามที่ว่า คนที่เข้าไปตีข้าศึกหรือเป็นฝ่ายรุกนั้นจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าฝ่ายรับหลายเท่า เรื่องสุดท้ายในฐานะของเสนาธิการก็คือ ผมจะต้องกำหนดกลยุทธ์การศึกที่จะทำให้ผมบรรลุเป้าหมายในการทำสงคราม
เปรียบเทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้นที่ผมทำอยู่ในตลาดหุ้นไทยตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ผมเริ่มมีความรู้สึกเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้นน่าจะถดถอยลงมาก ในระยะยาวต่อจากนี้ การที่จะได้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละ 10% ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยากไม่ต้องคิดว่าจะได้ผลตอบแทนปีละหลายสิบเปอร์เซ็นต์อย่างที่ผ่านมาในอดีตติดต่อกันมาเกือบ 20 ปี เหตุผลก็เพราะว่าเศรษฐกิจของไทยดูเหมือนว่าจะเติบโตช้าลงมาก—อย่างถาวร ด้วยเหตุผลใหญ่ที่ว่าสังคมไทยเริ่ม “แก่ตัวลง” อย่างรวดเร็ว ประกอบกับปัจจัยที่ถดถอยลงอื่น ๆ รวมถึงการแข่งขันที่เข้มข้นจากประเทศคู่แข่งอื่นที่กำลังก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วอาทิประเทศในแถบเอเซียที่เศรษฐกิจยังล้าหลังกว่าไทย
ผมเองไม่ได้หวังว่าจะทำผลตอบแทนได้สูงเหมือนอดีต เหตุผลนอกจากเรื่องของสภาพเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังอยู่ที่ว่าพอร์ตมีขนาดใหญ่ขึ้นมากจนการทำผลตอบแทนสูง ๆ นั้นยากมากโดยที่ไม่ต้องรับความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม ผมเองก็ยังอยากที่จะได้ผลตอบแทนประมาณปีละ 10% ขึ้นไปแบบทบต้นอยู่ ผมคิดว่าอัตรานี้น่าจะยังพอทำได้ไม่ยากโดยเฉพาะในบางตลาดหลักทรัพย์ที่สถานการณ์การลงทุนยังเอื้ออำนวย ดังนั้น ผมจึงตั้งเป้าหมายการลงทุนที่จะได้ผลตอบแทนประมาณ 10-15% ต่อปีแบบทบต้น แน่นอน ผมคงไม่ย้ายเงินไปทั้งหมด ผมอยู่และใช้เงินไทยเป็นหลัก ซึ่งทำให้การลงทุนเงินทั้งหมดในต่างประเทศเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ผมคิดคร่าว ๆ ว่าผมคงไม่ลงทุนในต่างประเทศประเทศเดียว
เกิน 20% ของพอร์ต และนี่ก็คือวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายใหญ่ในการ “เปิดศึก” หรือลงทุนในตลาดแห่งใหม่ ซึ่งในกรณีของผมก็คือตลาดหุ้นเวียตนาม
ประเด็นที่สองคือเรื่องของ “ชัยภูมิ” ที่เราจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ ในภาพใหญ่แล้ว ผมคิดว่าทำเล “ตลาดหุ้นเวียตนาม” น่าจะเอื้ออำนวยต่อการลงทุนที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ต้องการคืออย่างน้อย 10-15% ได้ไม่ยากนัก เหตุผลก็เพราะเศรษฐกิจของเวียตนามที่เริ่ม “เปิดประเทศ” มาน่าจะประมาณ 20 ปีและเปิดตลาดหลักทรัพย์มาประมาณ 16 ปี นั้น บัดนี้เริ่มจะเห็นผลชัดเจนว่ามีการเติบโตต่อเนื่องอย่างมั่นคงในอัตราที่สูงแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาในเอเซียที่โตเร็วเป็น “เสือเศรษฐกิจ” ในอดีตอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อหลายสิบปีก่อน นอกจากนั้น เวียตนามเป็นประเทศที่มีประชากรมากเกือบ 100 ล้านคนและเป็นคนที่มีคุณภาพโดยเฉพาะในด้านของการศึกษาที่โดดเด่นที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ซึ่งนี่ส่งผลให้เวียตนามกลายเป็นประเทศที่ผู้ผลิตชั้นนำของโลกต่างก็อยากใช้เป็นฐานของการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปทั่วโลก ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมเชื่อว่าเวียตนามจะเติบโตเร็วต่อไปอีกนับเป็นสิบ ๆ ปี โดยโอกาสที่จะผิดคาดน้อยมาก
ในด้านของตลาดหุ้นเองนั้น ตลาดหุ้นเวียตนามมีจำนวนบริษัทจดทะเบียนน่าจะกว่า 700 บริษัทและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อานิสงค์จากการที่รัฐบาลขายหุ้นที่เป็นรัฐวิสาหกิจโดยการนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้เอกชนเป็นเจ้าของ นี่ทำให้เรามีหุ้นให้เลือกซื้อได้เป็นจำนวนมาก ข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตลาดหุ้นเพิ่งจะวิกฤติมาไม่นาน ราคาหุ้นส่วนใหญ่ไม่แพง หุ้นที่มีค่า PE ต่ำกว่า 10 เท่าและ PB ต่ำกว่า 1 เท่า มีจำนวนมาก ที่สำคัญก็คือ หุ้นจำนวนมากจ่ายปันผลงดงาม บางตัวจ่ายปันผลเกือบ 10% ของราคาหุ้น บางทีอาจจะมีหุ้นเพียงกลุ่มเดียวที่มีราคาไม่ถูกแต่ก็ไม่แพงนั่นก็คือหุ้นขนาดใหญ่ที่ถูกต่างชาติเข้าไปซื้อเกือบหมดเพราะต่างก็เห็นศักยภาพของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเวียตนาม ในส่วนของค่าเงินเองนั้น เงินด่องของเวียตนามเองก็เคยตกลงไปน่าจะประมาณ 30% เมื่อหลายปีก่อนเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ แต่หลังจากนั้นมันก็มีเสถียรภาพที่ดีมาหลายปีแล้วโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินบาทของไทย กล่าวโดยสรุปก็คือ ตลาดหุ้นเวียตนามนั้นเป็น “ชัยภูมิ” ที่ดีสำหรับนักลงทุนระยะยาวที่จะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างน้อย 10% ต่อปีแบบทบต้น
สุดท้ายก็คือ กลยุทธ์ในการสร้างพอร์ตโฟลิโอที่ผมเลือกใช้ในการลงทุนที่เวียตนาม ในตลาดหุ้นไทยนั้น ผมเองไม่เคยคิดและไม่เคยใช้กลยุทธ์อื่นเลยนอกจากการเลือกหุ้นด้วยตนเอง พอร์ตหุ้นของผมถูกออกแบบให้มีหุ้นจำนวนน้อยตัวแต่ละตัวมีจำนวนเม็ดเงินลงทุนที่มีนัยสำคัญและทั้งหมดนั้นเป็นการลงทุนระยะยาวที่เน้นการเติบโตของผลประกอบการของบริษัท เหตุผลที่ผมใช้กลยุทธ์นี้ก็เป็นเพราะผมรู้จักบริษัทแต่ละแห่งดี บ่อยครั้งผมรู้แม้แต่นิสัยของผู้บริหารว่าเป็นคนประเภทไหนน่าไว้วางใจแค่ไหน ผมรู้เพราะผม
อยู่ในอุตสาหกรรมการเงินมานาน ผมเรียนรู้สะสมไปเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ดังนั้นผมคิดว่าผมสามารถเลือกหุ้นที่จะให้ผลตอบแทนระยะยาวได้ดีกว่าตลาด
ในตลาดหุ้นเวียตนามผมแทบไม่รู้อะไรเลย ผมคิดจะเรียนรู้เกี่ยวกับบริษัทก่อนลงทุนแต่ก็พบว่ามันต้องใช้เวลามากเกินไปซึ่งจะทำให้ผมต้องรอเวลาเริ่มลงทุนซึ่งจะทำให้เสียโอกาสในผลตอบแทนที่จะได้ในช่วงนั้น ผมคิดว่าถ้าตลาดหุ้นเวียตนามโดยรวมสามารถให้ผลตอบแทนปีละ 10% แบบทบต้น และผมพอใจแล้ว ผมก็สามารถลงทุนในกองทุนรวมหรือ ETF ของหุ้นเวียตนามได้ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเครื่องมือการลงทุนนี้ก็ยังมีปัญหาพอสมควร ในที่สุดผมก็ตัดสินใจใช้วิธีลงทุน “แบบ VI ที่ไม่ต้องเลือกหุ้นเป็นตัว ๆ” แต่ใช้สูตรเลือกหุ้นที่มีค่า PE และ PB ต่ำ และปันผลสูง ซึ่งในปัจจุบันสามารถสร้างพอร์ตได้ง่ายมากเนื่องจากระบบข้อมูลหุ้นที่มีประสิทธิภาพ ผมหวังว่าพอร์ตแบบนี้น่าจะให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยถ้าหลักการแบบ VI เป็นจริงในตลาดหุ้นเวียตนาม ผมซื้อหุ้นที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวนับถึงปัจจุบันน่าจะเกือบร้อยตัว มันกลายเป็นพอร์ตลงทุนคล้าย ๆ กับกองทุนรวมของหุ้นขนาดเล็กที่เป็นหุ้น VI ซึ่งผมหวังว่ามันจะให้ผลตอบแทนที่ดีอย่างน้อยเท่ากับผลตอบแทนของตลาดหุ้นเวียตนามและให้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าปีละ 10% แบบทบต้น
ที่ผ่านมา 2 ปีผมยังไม่เคยปรับพอร์ตเลยและยังอยู่ในช่วง “สร้างพอร์ต” อยู่ ผลการลงทุนอยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้แต่ก็ไม่ได้ดีมาก ผมเองหวังและได้เริ่มเลือกหุ้นเป็นตัว ๆ และลงทุนเป็นเม็ดเงินจำนวนมากขึ้นแต่ก็ยังไม่เห็นผลนัก บางทีอาจจะต้องใช้เวลาก่อนที่ผมจะเข้าใจหุ้นที่เวียตนามดีพอ และทั้งหมดนี้ก็คือกลยุทธ์สร้างพอร์ตหุ้นของผมที่ผมคิดว่านักลงทุนทุกคนก่อนลงทุนจะต้องคิดและทำ อย่าเข้าตลาดโดยไม่มียุทธศาสตร์และยุทธวิธี
- ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร-
----------------------------
เวลาที่คิดจะลงทุนในตลาดหุ้นผมมักจะจินตนาการเหมือนว่ากำลังส่งกองทัพไปทำสงครามในสนามรบแห่งหนึ่งโดยมีตัวผมเองเป็นเสนาธิการ เรื่องแรกที่ผมจะต้องคิดก็คือ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ต้องการบรรลุนั่นก็คือเรื่องของผลตอบแทนที่จะได้รับถ้าชนะสงคราม—หรือแพ้ โดยทั่วไปกฎของผมก็คือกฎของสงครามนั่นคือ เราต้องไม่แพ้ ถ้าคิดว่ามีโอกาสแพ้พอสมควรผมก็จะไม่เข้า เรื่องที่สองก็คือผมจะต้องประเมิน “สนามรบ” หรือชัยภูมิหรือสถานที่ที่จะเข้าตี ผมจะต้องดูว่ามันอยู่ในทำเลที่ยากมากน้อยแค่ไหน มันเอื้ออำนวยหรือมันเป็นเนินเขาสูงที่มีป้อมปราการทำให้คนที่เข้าไปอยู่ในจุดที่เสียเปรียบและเอาชนะได้ยากหรือไม่ เพราะผมเชื่อในกฎของสงครามที่ว่า คนที่เข้าไปตีข้าศึกหรือเป็นฝ่ายรุกนั้นจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าฝ่ายรับหลายเท่า เรื่องสุดท้ายในฐานะของเสนาธิการก็คือ ผมจะต้องกำหนดกลยุทธ์การศึกที่จะทำให้ผมบรรลุเป้าหมายในการทำสงคราม
เปรียบเทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้นที่ผมทำอยู่ในตลาดหุ้นไทยตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ผมเริ่มมีความรู้สึกเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้นน่าจะถดถอยลงมาก ในระยะยาวต่อจากนี้ การที่จะได้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละ 10% ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยากไม่ต้องคิดว่าจะได้ผลตอบแทนปีละหลายสิบเปอร์เซ็นต์อย่างที่ผ่านมาในอดีตติดต่อกันมาเกือบ 20 ปี เหตุผลก็เพราะว่าเศรษฐกิจของไทยดูเหมือนว่าจะเติบโตช้าลงมาก—อย่างถาวร ด้วยเหตุผลใหญ่ที่ว่าสังคมไทยเริ่ม “แก่ตัวลง” อย่างรวดเร็ว ประกอบกับปัจจัยที่ถดถอยลงอื่น ๆ รวมถึงการแข่งขันที่เข้มข้นจากประเทศคู่แข่งอื่นที่กำลังก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วอาทิประเทศในแถบเอเซียที่เศรษฐกิจยังล้าหลังกว่าไทย
ผมเองไม่ได้หวังว่าจะทำผลตอบแทนได้สูงเหมือนอดีต เหตุผลนอกจากเรื่องของสภาพเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังอยู่ที่ว่าพอร์ตมีขนาดใหญ่ขึ้นมากจนการทำผลตอบแทนสูง ๆ นั้นยากมากโดยที่ไม่ต้องรับความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม ผมเองก็ยังอยากที่จะได้ผลตอบแทนประมาณปีละ 10% ขึ้นไปแบบทบต้นอยู่ ผมคิดว่าอัตรานี้น่าจะยังพอทำได้ไม่ยากโดยเฉพาะในบางตลาดหลักทรัพย์ที่สถานการณ์การลงทุนยังเอื้ออำนวย ดังนั้น ผมจึงตั้งเป้าหมายการลงทุนที่จะได้ผลตอบแทนประมาณ 10-15% ต่อปีแบบทบต้น แน่นอน ผมคงไม่ย้ายเงินไปทั้งหมด ผมอยู่และใช้เงินไทยเป็นหลัก ซึ่งทำให้การลงทุนเงินทั้งหมดในต่างประเทศเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ผมคิดคร่าว ๆ ว่าผมคงไม่ลงทุนในต่างประเทศประเทศเดียว
เกิน 20% ของพอร์ต และนี่ก็คือวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายใหญ่ในการ “เปิดศึก” หรือลงทุนในตลาดแห่งใหม่ ซึ่งในกรณีของผมก็คือตลาดหุ้นเวียตนาม
ประเด็นที่สองคือเรื่องของ “ชัยภูมิ” ที่เราจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ ในภาพใหญ่แล้ว ผมคิดว่าทำเล “ตลาดหุ้นเวียตนาม” น่าจะเอื้ออำนวยต่อการลงทุนที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ต้องการคืออย่างน้อย 10-15% ได้ไม่ยากนัก เหตุผลก็เพราะเศรษฐกิจของเวียตนามที่เริ่ม “เปิดประเทศ” มาน่าจะประมาณ 20 ปีและเปิดตลาดหลักทรัพย์มาประมาณ 16 ปี นั้น บัดนี้เริ่มจะเห็นผลชัดเจนว่ามีการเติบโตต่อเนื่องอย่างมั่นคงในอัตราที่สูงแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาในเอเซียที่โตเร็วเป็น “เสือเศรษฐกิจ” ในอดีตอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อหลายสิบปีก่อน นอกจากนั้น เวียตนามเป็นประเทศที่มีประชากรมากเกือบ 100 ล้านคนและเป็นคนที่มีคุณภาพโดยเฉพาะในด้านของการศึกษาที่โดดเด่นที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ซึ่งนี่ส่งผลให้เวียตนามกลายเป็นประเทศที่ผู้ผลิตชั้นนำของโลกต่างก็อยากใช้เป็นฐานของการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปทั่วโลก ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมเชื่อว่าเวียตนามจะเติบโตเร็วต่อไปอีกนับเป็นสิบ ๆ ปี โดยโอกาสที่จะผิดคาดน้อยมาก
ในด้านของตลาดหุ้นเองนั้น ตลาดหุ้นเวียตนามมีจำนวนบริษัทจดทะเบียนน่าจะกว่า 700 บริษัทและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อานิสงค์จากการที่รัฐบาลขายหุ้นที่เป็นรัฐวิสาหกิจโดยการนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้เอกชนเป็นเจ้าของ นี่ทำให้เรามีหุ้นให้เลือกซื้อได้เป็นจำนวนมาก ข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตลาดหุ้นเพิ่งจะวิกฤติมาไม่นาน ราคาหุ้นส่วนใหญ่ไม่แพง หุ้นที่มีค่า PE ต่ำกว่า 10 เท่าและ PB ต่ำกว่า 1 เท่า มีจำนวนมาก ที่สำคัญก็คือ หุ้นจำนวนมากจ่ายปันผลงดงาม บางตัวจ่ายปันผลเกือบ 10% ของราคาหุ้น บางทีอาจจะมีหุ้นเพียงกลุ่มเดียวที่มีราคาไม่ถูกแต่ก็ไม่แพงนั่นก็คือหุ้นขนาดใหญ่ที่ถูกต่างชาติเข้าไปซื้อเกือบหมดเพราะต่างก็เห็นศักยภาพของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเวียตนาม ในส่วนของค่าเงินเองนั้น เงินด่องของเวียตนามเองก็เคยตกลงไปน่าจะประมาณ 30% เมื่อหลายปีก่อนเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ แต่หลังจากนั้นมันก็มีเสถียรภาพที่ดีมาหลายปีแล้วโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินบาทของไทย กล่าวโดยสรุปก็คือ ตลาดหุ้นเวียตนามนั้นเป็น “ชัยภูมิ” ที่ดีสำหรับนักลงทุนระยะยาวที่จะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างน้อย 10% ต่อปีแบบทบต้น
สุดท้ายก็คือ กลยุทธ์ในการสร้างพอร์ตโฟลิโอที่ผมเลือกใช้ในการลงทุนที่เวียตนาม ในตลาดหุ้นไทยนั้น ผมเองไม่เคยคิดและไม่เคยใช้กลยุทธ์อื่นเลยนอกจากการเลือกหุ้นด้วยตนเอง พอร์ตหุ้นของผมถูกออกแบบให้มีหุ้นจำนวนน้อยตัวแต่ละตัวมีจำนวนเม็ดเงินลงทุนที่มีนัยสำคัญและทั้งหมดนั้นเป็นการลงทุนระยะยาวที่เน้นการเติบโตของผลประกอบการของบริษัท เหตุผลที่ผมใช้กลยุทธ์นี้ก็เป็นเพราะผมรู้จักบริษัทแต่ละแห่งดี บ่อยครั้งผมรู้แม้แต่นิสัยของผู้บริหารว่าเป็นคนประเภทไหนน่าไว้วางใจแค่ไหน ผมรู้เพราะผม
อยู่ในอุตสาหกรรมการเงินมานาน ผมเรียนรู้สะสมไปเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ดังนั้นผมคิดว่าผมสามารถเลือกหุ้นที่จะให้ผลตอบแทนระยะยาวได้ดีกว่าตลาด
ในตลาดหุ้นเวียตนามผมแทบไม่รู้อะไรเลย ผมคิดจะเรียนรู้เกี่ยวกับบริษัทก่อนลงทุนแต่ก็พบว่ามันต้องใช้เวลามากเกินไปซึ่งจะทำให้ผมต้องรอเวลาเริ่มลงทุนซึ่งจะทำให้เสียโอกาสในผลตอบแทนที่จะได้ในช่วงนั้น ผมคิดว่าถ้าตลาดหุ้นเวียตนามโดยรวมสามารถให้ผลตอบแทนปีละ 10% แบบทบต้น และผมพอใจแล้ว ผมก็สามารถลงทุนในกองทุนรวมหรือ ETF ของหุ้นเวียตนามได้ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเครื่องมือการลงทุนนี้ก็ยังมีปัญหาพอสมควร ในที่สุดผมก็ตัดสินใจใช้วิธีลงทุน “แบบ VI ที่ไม่ต้องเลือกหุ้นเป็นตัว ๆ” แต่ใช้สูตรเลือกหุ้นที่มีค่า PE และ PB ต่ำ และปันผลสูง ซึ่งในปัจจุบันสามารถสร้างพอร์ตได้ง่ายมากเนื่องจากระบบข้อมูลหุ้นที่มีประสิทธิภาพ ผมหวังว่าพอร์ตแบบนี้น่าจะให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยถ้าหลักการแบบ VI เป็นจริงในตลาดหุ้นเวียตนาม ผมซื้อหุ้นที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวนับถึงปัจจุบันน่าจะเกือบร้อยตัว มันกลายเป็นพอร์ตลงทุนคล้าย ๆ กับกองทุนรวมของหุ้นขนาดเล็กที่เป็นหุ้น VI ซึ่งผมหวังว่ามันจะให้ผลตอบแทนที่ดีอย่างน้อยเท่ากับผลตอบแทนของตลาดหุ้นเวียตนามและให้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าปีละ 10% แบบทบต้น
ที่ผ่านมา 2 ปีผมยังไม่เคยปรับพอร์ตเลยและยังอยู่ในช่วง “สร้างพอร์ต” อยู่ ผลการลงทุนอยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้แต่ก็ไม่ได้ดีมาก ผมเองหวังและได้เริ่มเลือกหุ้นเป็นตัว ๆ และลงทุนเป็นเม็ดเงินจำนวนมากขึ้นแต่ก็ยังไม่เห็นผลนัก บางทีอาจจะต้องใช้เวลาก่อนที่ผมจะเข้าใจหุ้นที่เวียตนามดีพอ และทั้งหมดนี้ก็คือกลยุทธ์สร้างพอร์ตหุ้นของผมที่ผมคิดว่านักลงทุนทุกคนก่อนลงทุนจะต้องคิดและทำ อย่าเข้าตลาดโดยไม่มียุทธศาสตร์และยุทธวิธี
- ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร-
----------------------------
Comments
Post a Comment